วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

นกกระเบื้องท้องแดง

นกกระเบื้องท้องแดง 
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (25 เซนติเมตร) ตัวผู้แตกต่างจากตัวผู้นกกระเบื้องผาชนิดย่อยที่มีท้องเป็นสีน้ำตาลแดง โดยด้านบนลำตัวเป็นสีน้ำเงินมากกว่า อกสีออกแดงเช่นเดียวกับท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่าง ไม่มีลายเกล็ดบนหางที่มีสีน้ำเงิน ด้านบนลำตัวและคอหอยจะเป็นลายเกล็ด สีเหลืองช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ตัวเมียแตกต่างจากตัวเมียนกกระเบื้องอื่น ๆ โดยมีลายพาดสี เหลืองบริเวณหลังขนบริเวณหู แตกต่างจากตัวเมียนกกระเบื้องผาโดยมีลายขีดสีเหลือง หรือขาวบริเวณตรงกลางคอหอย ไม่มีสีน้ำเงินไม่ว่าจะเป็นส่วนใด ๆ ของร่างกาย

 อุปนิสัยและอาหาร
เป็นนกที่พบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าละเมาะในความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป จนกระทั่งยอดเขาสูงสุด อาจพบโดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ มักเกาะในลักษณะตัวตั้ง บริเวณพุ่มไม้ ต้นไม้ 
หรือบนก้อนหิน หากินส่วนใหญ่ตามพื้นดิน บางครั้งก็บินโฉบจับแมลงกลางอากาศแล้วกลับมาเกาะที่เดิม ลักษณะคล้ายกับพวกนกแซงแซว อาหารได้แก่แมลงต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังกินผลไม้สุกที่ร่วงหล่นตามพื้นดินบางชนิดอีกด้วย
การผสมพันธุ์
ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย
สถานภาพ
สัตว์ป่าคุ้มครอง
ที่มา
หนังสือชุดนกในเมืองไทย โดย รศ.โอภาส ขอบเขตต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น