วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จิ้งจกนิ้วยาวมลายู


สัตว์ป่าน่ารู้ จิ้งจกนิ้วยาวมลายู
ลักษณะทั่วไป
ความยาวจากหัวถึงก้น 10 เซนติเมตร ความยาวจากหัวถึงปลายหาง 25 เซนติเมตร หน้าค่อนข้างสั้น มีหนามเหนือตา และเหนือแผ่นหู มีแผงหนามบนคอ และตามแนวสันหลัง โดยเว้นช่วงหลังคอ ลักษณะเด่นคือมีลายแถบสีดำรูปทรงคล้ายเพชรบริเวณคอ ที่เป็นช่องว่างระหว่างแผงหนาม ลำตัวมักมีสีน้ำตาล เทา หรือดำ สามารถเปลี่ยนสีและลวดลายได้ตามสภาพแวดล้อมและอารมณ์
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อาศัยตามใต้ก้อนหิน หรือตามพูพอนของต้นไม้ใหญ่ ใกล้ลำธารในป่าดิบชื้น หากินทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เมื่อถูกรบกวนจะหลบซ่อนตามหลืบรอยแตกของหิน 
สถานภาพ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
การแพร่กระจ่าย
พบในประเทศมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบที่จังหวัดปัตตานี

1 ความคิดเห็น: