วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

งูทางมะพร้าวดำ



สัตว์ป่าน่ารู้ งูทางมะพร้าวดำ
ลักษณะทั่วไป
ความยาวจากหัวถึงปลายหางประมาณ 2 เมตร หัวสีน้ำตาลเทา ปากสีงาช้าง มีลายเส้นสีดำเส้นหนึ่งลากจากใต้ตาไปยังระหว่างเกล็ดริมฝีปากบนเกล็ดที่ 5 และ 6 เส้นสีดำ อีกเส้นหนึ่งลากจากหางตาไปยังเกล็ดริมฝีปากบนเกล็ดที่ 8 และเส้นสีดำจากโคนขากรรไกรไปยังคอ ท้องสีขาวหม่น ลำตัวส่วนหน้า บริเวณกลางหลังมีสีส้มเหลือง ขนาบด้วยเส้นสีดำ โดยเส้นสีดำเริ่มบริเวณลำตัวส่วนต้น ไม่ได้เริ่มที่คอ มีจุดสีดำบนพื้นสีน้ำตาลเหลืองตามขอบเกล็ดท้องส่วนต้นของลำตัว
ลำตัวส่วนท้ายสีดำ เกล็ดตัวเป็นเกล็ดสัน เกล็ดกลางตัว 19 แถว เกล็ดหัวตา 1 คู่ เกล็ดหางตา 2 คู่ เกล็ดระหว่างเกล็ดจมูกกับเกล็ดหัวตา 1 คู่ เกล็ดริมฝีปากบน 9 คู่ ตำแหน่งเกล็ดที่ 4, 5 และ 6 อยู่ติดกับตา เกล็ดทวารเดี่ยว เกล็ดใต้หางคู่ ไม่มีพิษ
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อาศัยอยู่ตามพื้นในป่าดิบชื้น หากินเวลากลางวัน วางไข่ครั้งละ 5-12 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 15 สัปดาห์
สถานภาพ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
การแพร่กระจ่าย
พบในประเทศพม่า มาเลเซีย อินโดนีเซียตะวันตกและหมู่เกาะอันดามันของอินเดีย ส่วนในประเทศไทยพบทางภาคใต้ ตั้งแต่ภูเก็ตจนถึงชายแดนมาเลเซีย ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 490 เมตร และมีรายงานการพบที่จังหวัดนครราชสีมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น